Sabiia Seb
PortuguêsEspañolEnglish
Embrapa
        Busca avançada

Botão Atualizar


Botão Atualizar

Registro completo
Provedor de dados:  Thai Agricultural
País:  Thailand
Título:  การใช้เศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบของแพะ
Utilization of pineapple waste as roughage source in goats
Autores:  Peerawat Namanee
Saowanit Kuprasert
Wanwisa Ngampongsai
Data:  2012-09-07
Ano:  2011
Palavras-chave:  Goats
Rumen fermentation
Performance
Pineapple waste
Feed
Nutrient digestibility coefficient
แพะ
กระบวนการหมักในกระเพาะรูเมน
สมรรถภาพการผลิต
เศษเหลือของสับปะรด
อาหารหยาบ
อาหารสัตว์
สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะ
โรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋อง
Resumo:  Two experiments were conducted to determine the utilization of pineapple waste as roughage sourcein goats. In experiment 1, eight Thai Native×Anglo-Nubian 50% crossbred male goats, 2 years old, with averagebody weight (BW) of 37±2.33 kg, were used in 4×4 replicate Latin square design. The goat was offered 4 sources of roughage:plicatulum hay (T1), pineapple waste (T2), plicatulum hay and pineapple waste at the ratio of 1:10 w/w (T3) and plicatulum hay and pineapple waste at the ratio of 1:20 w/w (T4). All goats were supplemented with concentrate at 0.50%of BW on dry matter. The results showed that the apparent digestibility coefficient of the dry matter, organic matter, neutral detergent fiber and total digestible nutrient (TDN) of goats fed T2 and T4 diets were not significantly different (P>0.05), but higher (P<0.01) than the group fed T1 diet. However, crude protein (CP), nitrogen free extractn (NFE) and acid detergent fiber digestibility of all groups were similar among treatments (P>0.05). Nitrogen retention of goats fed T3 diet was higher (P<0.01) than the other groups. Average ruminal pH of goats fed T2, T3 and T4 diet (6.69, 6.69 and 6.6, respectively) were lower than that of T1 diet. Ruminal NH3-Nconcentration of all groups ranged from 6.07-9.91 mg/dl (P>0.05). In experiment 2, sixteen Thai Native×Anglo-Nubian 50 % crossbred male goats with average BW of 18±2.84kg, were arranged in a Randomized Complete Block Design with 4 replications and 4 groups as following, plicatulum hay (T1), pineapple waste (T2), plicatulum hay and pineapple waste at the ratio of 1:10 w/w (T3) and plicatulum hay and pineapple waste at the ratio of 1:20 w/w (T4). All goats were fed roughage ad libitum and supplemented with concentrate at 2 % of BW on dry matter. The experimental period was 90 days. Feed intake, weight gain and growth rate were not significantly different among treatments (P>0.05). There were no significant differences (P>0.05) but feed conversion ratio of the groups fed T2, T3 and T4 diets were higher (P<0.01) than the group fed T1 diet. Ruminal pH and NH3-N concentration were normal range.

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้เศษเหลือของสับปะรดจากโรงงานแปรรูปสับปะรดกระป๋องเป็นแหล่งอาหารหยาบของแพะโดยแบ่งเป็น 2 การทดลองดังนี้ การทดลองที่ 1 สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโภชนะสมดุลไนโตรเจนและกระบวนการหมักในกระเพาะรูเมนของแพะที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบ โดยใช้แพะลูกผสมพื้นเมืองไทย-แองโกลนูเบียน 50 เปอร์เซ็นต์เพศผู้ จำนวน 8 ตัว น้ำหนักตัวเฉลี่ย 37±2.33 กิโลกรัมแบ่งเป็น 4 กลุ่มๆ ละ 2 ตัว ใช้แผนการทดลอง 4×4 Replicate Latin Square โดยแต่ละกลุ่มให้ได้รับอาหารหยาบดังนี้คือ (1) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง (2) เศษเหลือของสับปะรด (3) และ (4) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ โดยให้แพะทุกกลุ่มได้รับอาหารข้น 0.5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว (คิดเป็นวัตถุแห้ง) พบว่า สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง อินทรียวัตถุผนังเซลล์ และโภชนะที่ย่อยได้รวมของแพะที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรด และกลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก มีค่าไม่แตกต่างกัน (P>0.05) แต่มีค่าสูงกว่า (P<0.01) กลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง ในขณะที่สัมประสิทธิ์การย่อยได้ของโปรตีนรวม ไนโตรเจนฟรีเอกซ์แทรก และลิกโนเซลลูโลส ของแพะทั้ง 4 กลุ่มไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) สมดุลไนโตรเจนของแพะกลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 โดยน้ำหนัก สูงกว่ากลุ่มอื่น (P<0.01) ค่าความเป็นกรด-ด่างเฉลี่ยของของเหลวในกระเพาะรูเมนของแพะที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรด เศษเหลือของสับปะรดร่วมกับหญ้าแห้ง 1:10 และ1:20 (6.69, 6.69 และ 6.66) ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง (6.87)(P<0.05) ในขณะที่ระดับของแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในของเหลวในกระเพาะรูเมนของแพะทั้ง 4 กลุ่ม มีค่าอยู่ในช่วง 6.07 – 9.91 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (P>0.05) การทดลองที่ 2 ศึกษาปริมาณการกินได้ สมรรถภาพการผลิต ค่าความเป็นกรด-ด่าง ค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในกระเพาะรูเมนโดยใช้เศษเหลือของสับปะรดเป็นอาหารหยาบ ใช้แพะลูกผสมพื้นเมืองไทย-แองโกลนูเบียน 50 เปอร์เซ็นต์เพศผู้ จำนวน 16 ตัวน้ำหนักเฉลี่ย 18±2.84 กิโลกรัม วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RandomizedCompleteBlock Design, RCBD) โดยแบ่งแพะออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มได้รับอาหารหยาบดังนี้คือ (1) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้ง (2) เศษเหลือของสับปะรด (3) และ (4) หญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก ตามลำดับ ให้แพะทดลองได้รับอาหารหยาบอย่างเต็มที่ (ad libitum) และเสริมอาหารข้น2 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว (คิดเป็นวัตถุแห้ง) ใช้เวลาในการทดลอง 90 วันพบว่า แพะทุกกลุ่มมีปริมาณอาหารที่กินได้ และน้ำหนักเพิ่มไม่แตกต่างกัน (P>0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัวของกลุ่มที่ได้รับเศษเหลือของสับปะรดกลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งร่วมกับเศษเหลือของสับปะรดในอัตราส่วน 1:10 และ 1:20 โดยน้ำหนัก ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) แต่มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับหญ้าพลิแคททูลั่มแห้งอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติ (P<0.01) สำหรับค่าความเป็นกรด-ด่างและค่าแอมโมเนีย-ไนโตรเจนในกระเพาะรูเมนของแพะทั้ง 4 กลุ่มอยู่ในช่วงปกติ
Tipo:  Collection
Idioma:  Thailandês
Identificador:  ISSN 0125-0485

http://anchan.lib.ku.ac.th/agnet/handle/001/5148

Khon Kaen Agriculture Journal (Thailand), ISSN 0125-0485, 2012, V. 40, No. 1, p. 399-412

แก่นเกษตร, ISSN 0125-0485, 2555, ปีที่ 40, ฉบับที่ 1, หน้า 399-412
Direitos:  ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของบทความแต่เพียงผู้เดียว

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

เอกสารนี้สงวนไว้สำหรับการใช้งานเพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ด้านการค้า ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น อีกทั้งห้ามมิให้ดัดแปลงเนื้อหา และต้องอ้างอิงถึงเจ้าของเอกสารทุกครั้งที่มีการนำไปใช้
Fechar
 

Empresa Brasileira de Pesquisa Agropecuária - Embrapa
Todos os direitos reservados, conforme Lei n° 9.610
Política de Privacidade
Área restrita

Embrapa
Parque Estação Biológica - PqEB s/n°
Brasília, DF - Brasil - CEP 70770-901
Fone: (61) 3448-4433 - Fax: (61) 3448-4890 / 3448-4891 SAC: https://www.embrapa.br/fale-conosco

Valid HTML 4.01 Transitional